วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

ใส่เนื้อเพลงลงในมือถือ Android ของ Oppo กันดีกว่า!

สำหรับบล็อคครั้งนี้ ขอเอนเอียงไปเฉพาะแบรนด์หน่อยนะครับ
เพราะผมไม่มั่นใจว่ามันจะใช้วิธีเดียวกันได้รึเปล่า
ในครั้งนี้ ผมจะนำเสนอวิธีการใส่เนื้อเพลงลงไปในเพลงที่คุณต้องการ
เพื่อให้มันเล่นในเครื่องเล่นเพลงหลักของเครื่องได้(แอพฯ ตัวอื่นไม่มั่นใจ)
ส่วนตัวผมว่ามันยุ่งกว่าการใช้แอพฯ หรือใช้ Mp3Tag เยอะพอตัว
แต่สิ่งที่แลกมากับความยากก็ มันมี Hilight เนื้อเพลงให้ แถมยังเลื่อนให้เองด้วย!

เขียนยาวไปนิดนึง - -* มาเริ่มกันเลยดีกว่า
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี
1. โปรแกรม Jetaudio เอาไว้ใส่เนื้อเพลงลงไปในเพลง(ผมไม่มั่นใจว่าตัวเดียวกับที่ผมใช้รึเปล่านะ ผมไถเพื่อนมาอีกที)
2. โปรแกรม Notepad ที่ติดเครื่องทุกท่านอยู่แล้ว

ขั้นตอนการทำ
1. เปิด Jetaudio ขึ้นมาแล้วใส่เพลงที่ต้องการลงไป (จะกด Ctrl+O หรือลากไฟล์เพลงลงมาที่กรอบตรงกลางก็ตามสะดวก)จากนั้น คลิกขวาที่ไฟล์เพลง เลือก [Edit] -> [Edit Tag...] ตัวอย่างผมใช้เพลง "ณ บัดNow" ดังภาพที่ 1
2. เปิดมา จะเจอหน้าโล่งๆ ดังภาพที่ 2
เลือกแท็บ [Lyric] แล้วเลือก [Run Lyric Maker (for synchronized lyric)]จะเจอกับหน้าโล่งๆ ตรงกลางที่เอาไว้ใส่เนื้อเพลง ตรงนี้ไปหาเนื้อเพลงนั้นๆ มาใส่ครับ จะแกะเองหรือหาตามเว็บก็ตามสะดวก
(เว้นบรรทัดให้เรียบร้อย)
เสร็จแล้วกดเล่นเพลงด้านบน เมื่อถึงจุดที่เราต้องการให้มี Hilight ขึ้นบรรทัดไหน ให้กด [F9] โปรแกรมจะบันทึกเวลาไว้เพื่อขึ้นบรรทัดในจังหวะนั้นๆ (แรกๆ จะงงหน่อย เล่นไปซักพักจะสนุก)
ทำแบบนี้จนจบเพลง แล้วกดเครื่องหมายถูกสีเขียวๆ ด้านบน จะได้เนื้อเพลงที่บันทึกเวลาขึ้นบรรทัดไว้เรียบร้อยแล้ว ดังภาพที่ 3

หากกดไอคอนเซฟด้านบน จะเป็นการเซฟเนื้อเพลงไว้ที่ตัวเพลง ใช้เปิดกับโปรแกรมที่แสดงเนื้อเพลงได้ แต่ก่อนเซฟจำเป็นต้องเว้นให้ทุกบรรทัดไม่ติดกันแบบในรูป

ยังไม่หมดครับ เราไม่ได้ต้องการให้มันโชว์เนื้อเพลงบนคอมพิวเตอร์ เราต้องการบนมือถือต่างหาก!
3. ที่หน้าเดิม คลิก [File] -> [Export Lyric...] ดังรูปที่ 4

ใส่ชื่อไฟล์ให้เหมือนกับชื่อเพลง แล้วกดเซฟครับ เราจะได้ไฟล์ .lrc ออกมา

4. ได้เวลาเปิด Notepad แล้วครับ เปิดแล้วลากไฟล์ .lrc ที่เพิ่งเสร็จสดๆ ร้อนๆ ใส่เข้าไปเลยครับ
มันจะขึ้นคล้ายๆ บน Jetaudio เลย ไม่ต้องสนใจ คลิกด้านบน [File] -> [Save as...] แล้วปรับ Save as type: เป็น All Files (*.*)
กับ Encoding: เป็น UTF-8 (เซฟทับไฟล์เดิมไปเลย ไม่ต้องใส่ใจ)ตรวจสอบได้ที่กรอบแดงๆ ดังรูปที่ 5

5. นำไฟล์ .lrc ที่ใช้ Notepad เซฟทับไปแล้วเมื่อกี้มาใส่ในมือถือ ใส่ไว้ในโฟลเดอร์เดียวกันกับเพลงนั้นๆ ดังรูปที่ 6
เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ ใครสงสัยบ้างว่าทำไมต้องเปิด Notepad มาเปลี่ยน Encoding ด้วย ทั้งๆ Jetaudio ก็ทำได้?ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันครับ แต่ถ้าไม่ใช้ Notepad(แปลงเป็น UTF-8 ตั้งแต่ Jetaudio) มันจะเป็นภาษาต่างดาว - -*
ซ้าย : ก่อนใช้ Notepad
ขวา : หลังใช้ Notepad
สำหรับบทความยาวๆ ที่ดูยากๆ แต่ทำจริงดันไม่ยากก็จบลงด้วยประการฉะนี้...

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชื่อเพลงเป็นภาษาต่างดาว แก้ได้ในไม่กี่คลิก!

ปัญหาเล็กๆ บางเรื่องก็ดูจะใหญ่โตเหลือเกิน อย่างเรื่องที่มีปัญหากับเพลงภาษาไทย ที่พอเปิดบนมือถือแล้วมันดันไม่เป็นภาษาไทยซะงั้น แต่ไม่เป็นไร... ในเมื่อ Android ปรับแต่งได้สารพัด เราก็แก้ได้!

งานนี้ไม่ยากอย่างที่จินตนาการกันไว้ เพียงคุณเข้า Play Store(อีกแล้ว) แล้วไปโหลด ID3Fixer มาติดตั้งในเครื่อง กับขั้นตอนอีกนิดหน่อยเท่านั้น

ตัวอย่างจากเครื่อง Samsung Galaxy Y

 เชื่อว่าภาพนี้จะคุ้นตาทุกคนกันดี - -*
.
.
.

 โหลด ID3Fixer มา แล้วเปิดขึ้นมาจะเจอหน้าตาแบบนี้
เลือก All Music ไปเลยครับ ไม่ต้องคิดมากดี

ติ๊กถูกเพลงที่ต้องการจะให้อ่านออก
(ซึ่งเราก็กด Select All เหมือนเดิม ก็เราอยากอ่านออกทุกอันนิ)
จากนั้นไปดูด้านบน จะเห็นคำว่า [Choose target charset] จิ้มตรงนั้นครับ

เลื่อนหาคำว่า [TIS-620 (Thai)] ดังภาพ

จากนั้นกด Fix it! แล้วรอมันจัดการให้ครับ

อารมณ์ประมาณนี้...

เสร็จแล้วเราจะเจอภาษาไทยที่เราคุ้นเคยกันแบบในภาพครับ

แต่จากภาพ เราจะเห็นว่ามีบางเพลงที่ภาษายังเพี้ยนอยู่ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไรเหมือนกัน
แต่เพลงส่วนใหญ่ก็อ่านกันออกแล้ว ปัญหาเรื่องคลังเพลงอ่านภาษาไทยเป็นภาษาต่างดาวก็คงทุเลาลงบ้าง
แล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปครับ ^^

กล้องแปลภาษาบน Android เป็นจริงแล้ว วันนี้!

เมื่อนานมาแล้ว ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า ถ้ากล้องมือถือใช้แปลภาษาได้ก็คงดี
แต่ใครจะไปคิด... มันเป็นจริงก่อนที่บล็อคนี้จะเปิดตั้งหลายเดือน -*-
ตอนนี้ใน Play Store มีแอพฯ แปลภาษาจากกล้องหลังของเรามากมาย ทั้งฟรีและเสียเงินให้เราเลือกสรรค์
ครับ... ครั้งนี้เป็นคิวของฟรีอย่าง Google Translate อุปกรณ์แปลภาษาอันเลื่องชื่อนั่นเอง
แต่หลายคน(รวมผมด้วย) อาจไม่รู้ว่ามันแปลจากกล้องได้ด้วยก็ได้นะ

ตัวอย่างการใช้งาน

ขั้นแรก เปิด Google Translate ขึ้นมาก่อน เหลือบลงมาดูด้านล่างขวา จะเห็นรูปกล้องอยู่ จิ้มเข้าไปเลยครับ
*Google Translate จำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ตระหว่างแปลภาษา
อารมณ์ประมาณนี้
จากภาพ ผมใช้ Tablet เปิดเนื้อหาที่จะแปลนะครับ(ส่องแปลจากหน้าโหลด Google Translate นี่แหละ ไหนๆ คำอธิบายมันก็เป็นภาษาอังกฤษแล้ว) ใช้กล้องมือถือส่องง่ายๆ แบบนี้เลย

เอากล้องส่องข้อความที่ต้องการ แล้วโฟกัสเหมือนถ่ายรูปปกติเลยครับ
ได้มุมเหมาะๆ แล้วกดรูปกล้อง หรือแตะหน้าจอเพื่อแปลก็ได้(เหมือนถ่ายรูปใช่มั้ยล่ะ)

ต่อมาเมื่อจับภาพที่ต้องการได้แล้ว เราต้องมาไฮไลต์ข้อความที่ต้องการจะแปลครับ
ทำยังไง? อยากให้แปลข้อความไหนก็เอานิ้วถูๆ ไปเลย จะได้เหมือนในภาพครับ
เสร็จแล้วกดลูกศรด้านขวา แล้วรอสักชาติครู่ครับ

ยังครับ... ยังไม่ถึงเวลา... รออีกนิด


ขอเปลี่ยนเป็นแนวตั้งนะครับ มันดูง่ายกว่า(ลืมบอกไปว่าใช้แนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้)

รอจนได้ที่ จะมีต้นฉบับภาษาอังกฤษ เลื่อนลงมาจะเจอคำแปลภาษาไทยครับ

ตรงข้อความที่จะแปล ที่ถูกครอบสีฟ้าๆ ด้านล่าง
เราสามารถกด [x] เพื่อลบออกได้นะครับ จะได้ไม่เป็นภาระของลูกตา

เท่านี้ก็เรียบร้อย ด้วยการแปลแบบ Google นั่นเอง...
ตอนอ่านอาจดูยาวและยุ่งยาก แต่ถ้าลองทำดูจะเห็นว่าไม่ยากอย่างที่คิดครับ
หวังว่าจะชอบกันนะครับ :)

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

Task Killer จำเป็นแค่ไหนเมื่อ RAM เหลือน้อย

สวัสดีเดือนใหม่... กับต้นเดือนมีนาคมนี้น้องๆ นักเรียนทั้งหลายคงปิดเทอมกันหมดแล้ว(อิจฉาเด็ก ทีเราไม่เห็นได้หยุดแบบนี้บ้าง)
ครั้งนี้ขอเริ่มกันด้วยแอพฯ ประจำเครื่องอย่างตระกูล Task Kill หรือ Task Manager ที่หลายๆ คนชอบใช้กันตอน RAM เหลือน้อยๆ เพราะเชื่อว่าเครื่องจะเร็วขึ้น ลื่นขึ้น แต่มันอาจไม่ได้ผลเสมอไปนะ!?

เอาใจคนไม่รู้จัก Task Killer ก่อน

Task Killer หรือ Task Manager เป็นแอพฯ ที่ใช้จัดการ RAM ในเครื่อง ว่าแอพฯ ตัวไหนใช้ RAM ไปเท่าไร
และถ้าไม่ต้องการให้มันเปิด ก็สามารถสั่งปิดได้

ตัวอย่างจาก Samsung Galaxy Y (Android 2.3.6)
กด [Home] ค้างไว้ แล้วจิ้มตรง [การจัดการงาน]
จะเห็นแอพฯ ที่เปิดอยู่ทั้งหมด กด [ปิด] ตัวไหน ตัวนั้นจะถูกปิดไป
แต่ถ้าเลือก [ปิดทั้งหมด] จะหายเกลี้ยงยกแผง
สามารถดู RAM ที่เหลือกับ RAM ทั้งหมดของเครื่องได้

 อีกตัวอย่างจาก Oppo Find3 (Android 4.0.3)
เลื่อน Notification Bar ลงมา แล้วจิ้มที่ปุ่มเหลี่ยมๆ อันแรก
จะเห็นปุ่ม [ปิดทั้งหมด] อยู่ด้านบน
และแต่ละแอพฯ จะมีปุ่มล็อค หากล็อคแล้วจะไม่ถูก Kill
เห็นกันชัดๆ ว่า Kill ทิ้งไปแล้ว RAM เหลือมากขึ้น
(ที่บอกว่า "ปิด 1 โปรแกรม" เพราะผมกด 2 ครั้งน่ะ)

แต่ Task Killer ก็ไม่ได้ติดมากับทุกรุ่น หากใครไม่มีใช้ ขอแนะนำ Advanced Task Killer สำหรับจัดการแอพฯ วิธีใช้ก็ไม่ยากนัก
เปิดมาจะเห็นแอพฯ ทั้งหมด ถ้าติ๊กถูกอันไหนไว้
เมื่อกด [Kill selected apps] ก็จะโดนเชือดทิ้งไป


เชือดทิ้งเรียบร้อยก็จะโล่งอย่างที่เห็น

ถ้าแอพฯ ตัวไหนไม่อยากให้ถูก Kill แบบถาวร
สามารถจิ้มค้างไว้แล้วเลือก [Ignore] ได้

หลัง Ignore จะเห็นว่าแอพฯ Advanced Kill Task จะหายไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในหน้า Task Killer ก็มีแอพฯ บางตัวที่ไม่ควร Kill เช่นกัน
ส่วนใหญ่จะเป็นแอพฯ ติดเครื่องที่ System สำรองพื้นที่ไว้ให้
อย่างในภาพจะเป็น เพลง , Simple Calender Widget , สภาพอากาศ
พวกนี้ถึงสั่ง Kill ไป เดี๋ยวก็เปิดขึ้นมาใหม่ แล้วตอนที่มันเปิดใหม่ก็ต้องใช้ CPU ด้วย
กลายเป็นเปลืองทั้ง RAM ทั้งไฟกว่าเดิมทั้งที่จะประหยัด =_=
คราวนี้จะ Kill แอพฯ ตัวไหนก็ต้องหมั่นสังเกตุหน่อยแล้วล่ะ

แล้ว Task Killer เหมาะกับใคร?

  1. เครื่องที่มี RAM 512 หรือต่ำกว่า ที่ประสบปัญหา RAM ไม่พอเปิดแอพฯ อยู่บ่อยๆ
  2. เครื่องที่มี Android 2.2 หรือต่ำกว่า
    (ที่ Android 2.3 ขึ้นไป จะมีระบบ Frezze แอพฯ อัตโนมัติหากไม่ได้ใช้งาน ทำให้ใช้ RAM น้อยลง)
  3. เปิดแอพฯ แล้วแอพฯ นั้นๆ เกิดค้าง แต่ดันไม่ปิดตัวเอง ก็ต้องมา Kill เอาเอง ควรใช้ที่สุด
นอกเหนือจากนั้น แทบไม่ต้องคอย Kill เลยครับ โดยเฉพาะพวกที่ RAM 1GB แล้วมีเหลือๆ ใช้มากกว่า 200MB นี่ลืม Task Killer ไปได้เลย...

สำหรับวันนี้ ขอพอเท่านี้ก่อนนะครับ ใครมีอะไรก็สอบถามเข้ามาได้นะ :)